ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
1. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
วิสัยทัศน์ “ ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้ายการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
ความมั่นคง
- การมีความปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล และความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
- ประเทศ มีความมั่งคงในเอกราช และอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองมีความมั่นคง เป็นกลไกนำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาล
- สังคม มีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน มีความเข้มแข็ง ครอบครัวอบอุ่น
- ประชาชน มีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิตมีที่อยู่อาศัยและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- ฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ
ความมั่งคั่ง
- ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศ รายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
- เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ ทั้งจากภายในกลุ่มประเทศ และภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง
- ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความยั่งยืน
- การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับ และเยียวยาของระบบนิเวศน์
- การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ของประชาคมโลก ซึ่งเป็นยอมรับร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมึคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
- มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพและยั่งยืน
- ประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือ และปฏิบัติตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์การพัฒนา
- ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันทางสังคม
- ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12
(1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างพัฒนาและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
(2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
(3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
(4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
(5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนา ประเทศสู่ความมั่นคงและยั่งยืน
(6) ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิบาลในสังคมไทย
(7) ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
(8) ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
(9) ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
(10) ยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
3. แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง
3.1.1 พัฒนาฐานเศรษฐกิจหลักของประเทศให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาเสถียรภาพการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร การบริการ การลงทุนให้มีความมั่นคงและเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น ส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม พัฒนาการเกษตร ฟื้นฟูการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาประสิทธิภาพโลจิสติกส์
3.1.2 พัฒนาศักยภาพคน ครอบครัว ชุมชนและสังคมให้มีคุณภาพ มีธรรมาภิบาล เพื่อพร้อมรับการการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ควบคู่กับการยกระดับคุณภาพชีวิต ของประชาชนให้ดีขึ้น เช่นส่งเสริมการเรียน
14
การสอนนอกระบบ การอาชีวศึกษา ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ส่งเสริมบทบาทของครอบครัว ชุมชนและภาคประชาสังคม ในการสร้างวัฒนธรรมในการดูแลสุขภาพ
3.1.3 อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความสมดุล ต่อระบบนิเวศน์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาฐานเศรษฐกิจ หลักของประเทศ โดยเร่งแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูคุณภาพน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.1.4 เสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาเมืองและพื้นที่ชายแดนตามแนวเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อบ้านทั้งแนวเหนือ-ใต้ และแนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติ
3.1.5 บริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบทอย่างมีส่วนร่วมและเกื้อกูลกันเพื่อให้มีการจัดระเบียบรูปแบบการพัฒนาเมืองและชุมชนได้สอดคล้องกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและความต้องการของชุมชน
3.2 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง)
วิสัยทัศน์ “ลุ่มน้ำแห่งประวัติศาสตร์ ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน”
ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การตลาด โดยใช้นวัตกรรมยกระดับสินค้าเกษตร การแปรรูป อุตสาหกรรม และผู้ประกอบการ SME 4.0
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ฟื้นฟูและยกระดับแหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมผลิตภัณฑ์ชุมชน และปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ความปลอดภัยให้ได้มาตรฐานสากล เพื่อสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยว
ยุทธศาสตร์ที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มลภาวะสิ่งแวดล้อมที่มีคุณภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มจากผักตบชวาโดยใช้นวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคม Logistic พัฒนาสภาพแวดล้อม ขยะมูลฝอย และการจัดการเมือง และชุมชนให้น่าอยู่
3.3 แผนพัฒนาจังหวัด
วิสัยทัศน์ “อ่างทองเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวแหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย”
พันธกิจ
1. พัฒนาจังหวัดอ่างทองให้เป็นเมืองน่าอยู่
2. ส่งเสริมการผลิตและจำหน่ายสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย
3. ยกระดับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
ตำแหน่งยุทธศาสตร์จังหวัด
1. เมืองน่าอยู่
2. แหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัย
15
3. การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
เป้าประสงค์
1. คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน
2. แหล่งผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
3. รายได้ด้านการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
ประเด็นยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาเมืองน่าอยู่ สู่สังคมมั่นคง และเป็นสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ระดับมาตรฐานสากล
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
3.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอ่างทอง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาตามนโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
3.5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง
วิสัยทัศน์ “ท้องถิ่นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่สดใส แหล่งอาหารปลอดภัย ภายใต้การบริหารจัดการที่ดี”
ประเด็นยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว
เป้าประสงค์
1. เพื่อสนับสนุน ส่งเสริมให้นักเรียนได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางในการประกอบอาชีพที่มั่นคง
2. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ด้านสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการกีฬา เพื่อพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของประชาชน
3. เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ได้มาตรฐานทั่วถึง
4. เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดเป็นแหล่งอาหารปลอดภัย และเกษตรปลอดสารพิษ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดี
16
5. เพื่อพัฒนาอาชีพ กลุ่มอาชีพ การทำเกษตรกรรม สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในจังหวัดอ่างทอง
6. เพื่อพัฒนาให้จังหวัดอ่างทอง เป็นเมืองน่าอยู่ ส่งเสริมการท่องเที่ยว
7. เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ และฟื้นฟูขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในจังหวัดอ่างทองให้คงอยู่สืบไป
8. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการพัฒนา อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
9. เพื่อองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีการบริหารจัดการที่ดี สามารถให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดตามนโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด ยุทธศาสตร์จังหวัด
กรอบยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอ่างทอง
ที่ |
ยุทธศาสตร์ |
ด้าน |
แผนงาน |
1. |
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต |
ด้านบริการชุมชนและสังคม |
1. แผนงานการศึกษา
2. แผนงานสาธารณสุข
3. แผนงานสังคมสงเคราะห์
4. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
5. แผนงานการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ |
2. |
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน |
1. ด้านบริการชุมชนและและสังคม
2. ด้านการเศรษฐกิจ |
1. แผนงานเคหะและชุมชน
2. แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา |
3. |
ยุทธศาสตร์ที่ 3
การพัฒนาเศรษฐกิจ |
ด้านการเศรษฐกิจ |
1. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน |
4 |
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การพัฒนาเมืองน่าอยู่และน่าเที่ยว |
1. ด้านบริหารทั่วไป
2. ด้านบริการชุมชนและสังคม
3. ด้านการเศรษฐกิจ
4. ด้านการดำเนินงานอื่นๆ |
1. แผนงานบริหารทั่วไป
2. แผนงานการศึกษา
3. แผนงานสาธารณสุข
4. แผนงานเคหะแผละชุมชน
5. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
6. แผนงานการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ
7. แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
8. แผนงานการเกษตร
9. แผนงานงบกลาง |
รวม |
4 ยุทธศาสตร์ |
4 ด้าน |
9 แผนงาน |
3.6 ยุทธศาสตร์อำเภอแสวงหา
1. พัฒนาอำเภอแสวงหาให้น่าอยู่
2. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาการเกษตรอย่างยังยืน
3. พัฒนาองค์ความรู้และเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3.7 นโยบายรัฐบาล
1) ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์
2) รักษาความมั่นคงของรัฐและการต่างประเทศ
3) ลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ
18
4) การศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
5) ยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน
6) เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
7) ส่งเสริมบทบาทและการใช้โอกาสในประชาคมอาเซี่ยน เร่งพัฒนาความเชื่อมโยงการขนส่งภายในภูมิภาคและอาเซี่ยน
8) พัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและการพัฒนาและนวัตกรรม
9) รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
10) ส่งเสริมการบริหารราชการแผ่นดินที่มีธรรมาภิบาลและการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐ
11) ปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
3.8 นโยบายผู้บริหาร
1) พัฒนาด้านคนและสังคม
2) พัฒนาด้านเศรษฐกิจ
3) พัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4) พัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
5) พัฒนาด้านแหล่งน้ำ
6) พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
3.9 ยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลสีบัวทอง
วิสัยทัศน์ “ดำเนินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ยึดหลักธรรมาภิบาล เป็นองค์กรสร้างประโยชน์สุขแก่ประชาชน”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านคน สังคมมั่นคง และเป็นสุข
1.1 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนด้านการศึกษา อย่างทั่วถึง เท่าเทียม
1.2 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนด้านการสาธารณสุข การฟื้นฟู ป้องกัน
บำบัดรักษาโรคต่างๆ การออกกำลังกาย การแข่งขันกีฬา นันทนาการ เพื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี
1.3 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้านชุมชน การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด การส่งเสริมความรู้ด้านต่างๆ ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1.4 แนวทางการการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน การสังคมสงเคราะห์ ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวและการพัฒนาบทบาทสตรี
1.5 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ จารีตประเพณี วัฒนธรรม โบราณสถาน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์อันดีงามของท้องถิ่น
19
1.6 แนวทางการพัฒนาส่งเสริม ฟื้นฟู อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ ปรับปรุงภูมิทัศน์ สร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม ลดภาวะโลกร้อน สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ลดการใช้พลังงาน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2. ด้านแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน
2.1 แนวทางการพัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุง ซ่อมแซม บำรุงถนน หนทางเส้นทางการ
คมนาคม ทางเท้า ทางเดิน สะพาน เขื่อน คันกั้นน้ำ ท่อระบายน้ำให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่
2.2 แนวทางการพัฒนา ก่อสร้าง ปรับปรุงสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ไฟฟ้า ประปา ให้มีคุณภาพ เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม
3.1 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน ก่อสร้าง ปรับปรุง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การ
ประชาสัมพันธ์ สิ่งอำนวยความสะดวกการท่องเที่ยว แหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สร้างรายได้คนในท้องถิ่น
3.2 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ กิจกรรมด้านการท่องเที่ยว การกระตุ้นเศรษฐกิจ
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน
4.1 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาสินค้าเกษตร โอทอป ช่องทางการ
จำหน่าย การผลิต การจำหน่ายอาหารปลอดภัย กลุ่มอาชีพ การสร้างอาชีพ คนว่างงานให้มีรายได้
4.2 แนวทางการการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการเกษตรผสมผสานตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
4.3 แนวทางการพัฒนาปรับปรุง คู คลอง แหล่งน้ำให้เพียงพอแก่การเกษตร
5. ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
5.1 แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ฝ่ายประจำ ฝ่ายการเมือง ผู้ปฏิบัติงานอันเป็น
ประโยชน์ต่อหน่วยงาน มีธรรมาภิบาล ปรับปรุง ซ่อมแซมจัดหาครุภัณฑ์ อุปกรณ์ วัสดุ สถานที่ เครื่องมือ ให้พร้อมต่อการปฏิบัติราชการ ภารกิจขององค์การบริหารส่วนตำบล
5.2 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุน การดำเนินงานตามนโยบายภาครัฐต่างๆ การบูรณาการ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐองค์กรอื่นๆ เพื่อประโยชน์ของประชาชน
5.3 แนวทางการพัฒนาส่งเสริมสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน และเหตุการณ์อันที่ไม่คาดคิดต่างๆ
เป้าประสงค์
1) เพื่อให้มีการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การสาธารณสุข ชุมชนเข้มแข็ง ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน
2) เพื่อให้ประชาชนมีชีวิตที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้น
3) เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี
4) เพื่อให้มีมีการบริหารจัดการที่ดี
20
5) เพื่อให้มีเส้นทางคมนาคมสะดวก ปลอดภัย ไฟฟ้าทั่วถึง
6) เพื่อให้มีน้ำการเกษตรทั่วถึง ทุกฤดูกาล ประปามีคุณภาพ
ตัวชี้วัด
- การเพิ่มขึ้น การศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม การสาธารณสุข ชุมชนเข้มแข็ง
ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85
2) ประชาชนมีชีวิตที่มั่นคง มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 80
3) การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี เป็นร้อยละ 90
4) ให้มีมีการบริหารจัดการที่ดี เป็นร้อยละ 95
5) ให้มีเส้นทางคมนาคมสะดวก ปลอดภัย ไฟฟ้าทั่วถึง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95
6) ให้มีน้ำการเกษตรทั่วถึง ทุกฤดูกาล ประปามีคุณภาพ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 95
เป้าหมาย
1) ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึง
2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
3) พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ให้มีความเข้มแข็งอย่างยิ่งยืน
4) พัฒนาแหล่งเรียนรู้ อนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) เสริมสร้างระบบบริหารจัดการที่ดี
6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างทั่วถึง
แผนงาน
1) แผนงานรักษาความสงบภายใน
2) แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
3) แผนงานการศึกษา
4) แผนงานศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
5) แผนงานสังคมสงเคราะห์
6) แผนงานแผนงานสาธารณสุข
7) แผนงานการเกษตร
8) แผนงานเศรษฐกิจ
9) แผนงานเคหะและชุมชน
10) แผนงานบริหารทั่วไป
11) แผนงานอุตสาหกรรมและการโยธา
12) แผนงานงบกลาง |